วันอาทิตย์ที่ 28 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553

รูปของฝรั่งแป้นสีทอง



ประวัติฝรั่งแป้นสีทอง

"ฝรั่งแป้นสีทอง" ปลูกแป้นสีทอง คร่อมร่อง ลดต้นทุน เพิ่มผลผลิต 3 เท่า

ครึ่งปีหลัง ดูเหมือนว่า ‘เมืองไม้ผล’ จะหยิบยกเรื่องราวของฝรั่งพันธุ์ใหม่ ๆ มานำเสนออย่างต่อเนื่อง แต่ยังไม่มีโอกาสไปชมแปลงฝรั่งใหญ่ ๆ ที่เน้นปลูกในเชิงการค้าจริงจังกันซักที

...คงต้องหาโอกาสกันซักครั้งแล้ว ก่อนเข้าสู่หน้าหนาว ช่วงพักตัวของฝรั่ง

...แล้วจะไปชมฝรั่งกันที่ไหนดี ที่แปลกและแหวกแนว ประเด็นนี้เป็นโจทย์ใหญ่ที่ต้องคิด เพราะสวนฝรั่งมีมากก็จริง แต่ที่เน้นเรื่องของคุณภาพถือว่ายังน้อยมาก

...ทีมงานใช้เวลาเสาะหาแหล่งข่าวอยู่นานหลายวัน จนในที่สุดก็เจอกับสวนฝรั่งตามโจทย์ที่เรากำหนด
ส่วนฝรั่งที่ว่านี้ เป็นสวนที่เน้นผลิตฝรั่งคุณภาพ ป้อนตลาดกรุงเทพเป็นหลัก และมีแนวคิดการทำฝรั่งที่แปลกและแหวกแนวอยู่พอสมควร เราจึงเลือกสวนนี้มานำเสนอ เพราะมั่นใจว่าท่านที่สนใจจะได้ประโยชน์อย่างแน่นอน

20 กันยายน 47 ได้นัดหมายกับ คุณวิบูลย์ อิฐสถิตไพศาล กรรมการผู้จัดการบริษัท กรีนพลาน่า จำกัด เพื่อเดินทางไปพร้อมกัน

สวนฝรั่งที่กล่าวนี้เป็นสวนฝรั่งร่วมทุนกันระหว่างคุณเจริญ ทองวิไล และคุณไพรัช ทองวิไล โดยคุณเจริญเป็นผู้ที่คลุกคลีอยู่กับการทำสวนฝรั่งมากว่า 10 ปี และนอกจากทำสวนฝรั่งแล้ว ยังมีร้านค้าจำหน่วยฝรั่งที่ตลาด 4 มุมเมือง

ส่วนคุณไพรัชผู้เป็นน้องชาย เดิมทีเป็นช่างตกแต่งภายในของบริษัทแห่งหนึ่ง ทำอยู่นานหลายปี ก่อนที่จะได้รับคำชักชวนจากคุณเจริญผู้เป็นพี่ชาย ให้มาทำสวนฝรั่งด้วยเหตุผลที่บอกว่าทำสวนฝรั่งเป็นอาชีพที่ยั่งยืนกว่า

ราว ๆ ปี 2543 คุณไพรัชจึงตัดสินใจ ที่จะทำสวนฝรั่ง ตามคำชักชวนของพี่ชาย โดยได้เข้ามาศึกษาและเรียนรู้การทำฝรั่งจากพี่ชายอยู่ตลอด โดยในขณะนั้นดูแลแปลงฝรั่งอยู่ 5 ไร่เศษ ก่อนที่จะไปเซ้งสวนฝรั่งที่บางแพ อำเภอดำเนินสะดวก จังหวัดราชบุรี อีก 15 ไร่

แปลง 15 ไร่นี้เอง ที่คุณไพรัช ต้องเข้ามาจัดการด้วยตัวเอง แต่ก็มีพี่ชายคอยเป็นพี่เลี้ยงอยู่ห่าง ๆ สำหรับแปลงใหญ่ 15 ไร่ ดังกล่าวนี้ เป็นแปลงฝรั่งพันธุ์แป้นสีทอง ซึ่งช่วงที่เข้าไปดูแล ช่วยนั้นต้นฝรั่งอายุประมาณ 6 ปีเศษ เจ้าของเดิมทำแล้วเกิดเบื่อ ประกอบกับแบกรับต้นทุนไม่ไหวเลยเซ้งให้ตนทำต่อ และให้เช่าพื้นที่เป็นรายปีไป

ช่วงแรกที่เข้าดูแลสวน คุณไพรัชบอกว่า ได้เริ่มปรับปรุงสวนให้มีสภาพสมบูรณ์มากขึ้น ทั้งลอกร่อง ตัดแต่งทรง เพื่อให้มีกิ่งใหม่ และจัดโปรแกรมการให้ปุ๋ยที่เน้นทั้งเคมีและชีวภาพมากขึ้น

ส่วนเรื่องการจัดการกับผลผลิต ที่นี่จะเน้นผลิตฝรั่งไทยตลอดทั้งปี ซึ่งหมายความว่า ชุดที่ห่อได้ก็จะห่อไปเรื่อย ชุดที่ตัดแต่งกิ่งก็ทำกันไป โดยจะหมุนเวียนอยู่ตลอด แต่ทั้งนี้ใน 1 ปี จะเน้นทำฝรั่งออกมาเป็นชุดใหญ่เพียง 2 ชุด นอกนั้นก็จะเป็นชุดย่อย ๆ สามารถทยอยเก็บได้วันละ 5-6 เข่ง

ชุดใหญ่ที่ว่านี้ ชุดแรกจะเริ่มทำกันในช่วงหน้าหนาว ช่วงปลายตุลาคม-ธันวาคม และจะไปเก็บผลผลิตได้ราว ๆ เดือนมกราคม-มีนาคม

ชุดที่ 2 เริ่มเตรียมความพร้อมของต้นกันตั้งแต่หลังมีนาคม และเลี้ยงลูกไปจนถึงเข้าหน้าฝนช่วงพฤษภาคม-มิถุนายน ซึ่งจะไปเก็บผลผลิตได้ในช่วงเดือนกรกฎาคม-ตุลาคม ผลผลิตที่ตัดได้คุณไพรัชย้ำว่า แต่ละชุดจะให้ผลผลิตไม่ต่ำกว่า 60,000 กิโลกรัม ซึ่งยังไม่รวมกับชุดย่อย ๆ ที่จะทยอยเก็บอีกทุกวัน



เรียนรู้การทำฝรั่ง จนเชี่ยวชาญ ปี 45 ขยายไปปลูกเอง 35 ไร่
คุณไพรัชบอกว่า หลังจากเรียนรู้การทำฝรั่งมากกว่า 2 ปี แล้ว พอเข้าปี 45มั่นใจฝีมือตัวเอง ก็มีแนวคิดที่จะขยายพื้นที่ปลูกออกไป ซึ่งเลือกเอาทำเลที่ปลูก ไม่ห่างจากสวนเดิมมากนัก เพื่อจะได้มีเวลาดูแลอย่างใกล้ชิด เพราอย่างน้อยแล้ว ก็ยังเป็นหน้าใหม่อยู่ แม้ 2 ปีที่ผ่านมา จะทำได้สำเร็จก็ตามที

แปลงใหม่ที่จะไปปลูกนี้มีขนาดพื้นที่ 35 ไร่ ซึ่งต้องเริ่มลงทุนกันตั้งแต่การวางระบบสวนใหม่ทั้งหมด ซึ่งนั่นหมายถึงต้องเสียค่าใช้จ่ายในการยกร่องสวน

พื้นที่ 35 ไร่ จึงถูกขุดเป็นร่องสวน เพื่อที่จะปลูกฝรั่งโดยเฉพาะ หลังจากขุดเป็นร่องแล้ว พื้นที่ส่วนหนึ่งก็จะถูกตัดเป็นร่องน้ำ สรุปแล้วพื้นที่ที่ใช้ปลูกฝรั่งได้ประมาณ 30 ไร่เศษ

“ลงทุนตั้งแต่เริ่มต้นยกร่อง ไปจนถึงให้ผลผลิตชุดแรก 30 ไร่ ต้องใช้เงินไม่ต่ำกว่า 600,000 บาท”

จากแผนที่วางไว้ คุณไพรัช บอกว่าแปลงนี้จะปลูกฝรั่ง 2 ระบบ คือระบบปลูกบนร่องปกติ กับอีกระบบหนึ่งจะปลูกแบบระบบลงคลอง ซึ่งระบบนี้กำลังได้รับความนิยมในกลุ่มชาวสวนหัวก้าวหน้า แต่ทั้งนี้ก็ยังลองผิดลองถูกกันอยู่
ส่วนพันธุ์ฝรั่งที่เลือกปลูก แปลงนี้จะเน้นฝรั่งแป้นเป็นหลัก โดยมีทั้งฝรั่งแป้นสีทอง ฝรั่งแป้นยอดแดง และฝรั่งไร้เมล็ดพันธุ์เด่นขุนวัง พันธุ์สาลี่ ปลูกเสริมอยู่ด้วย

โดยปัจจุบันฝรั่งชุดนี้มีอายุประมาณ 2 ปี จำนวน 2,200 ต้น ซึ่งทยอยเก็บผลผลิตไปบางส่วนแล้ว และเนื่องจากเป็นฝรั่งที่ต้นอายุยังน้อย ทำให้ผลผลิตที่เก็บไปได้ส่วนที่มีคุณภาพน้อย ส่วนใหญ่จะเสียหายมากกว่า


ปลูกฝรั่งคร่อมร่อง แนวคิดการทำสวนยุคใหม่
ดังที่กล่าว สวนฝรั่งที่นี่ จะเน้นปลูก 2 ระบบ คือระบบปลูกบนร่องปกติ กับระบบคร่อมร่อง

ระบบคร่อมร่อง’ ดูเหมือนว่าจะเป็นแนวคิดการทำสวนฝรั่งของคนยุใหม่ ซึ่งก็เริ่มมีให้เห็นกันบ้างในเขต อ.บ้านแพว และ อ.ดำเนินสะดวกแห่งนี้ แต่ทั้งนี้ก็ยังไม่มีรูปแบบที่ตายตัว ต่างคนต่างความคิดก็จะไปกันคนละรูปแบบ

อย่างกรณีของสวนคุณไพรัช ซึ่งแบ่งพื้นที่ครึ่งหนึ่งประมาณ 15 ไร่เศษ ปลูกระบบลงคลอง ซึ่งวิธีการปลูกนั้นก็ไม่แตกต่างจากระบบปลูกบนร่องปกติ จะแตกต่างกันที่ระบบเท่านั้น คือระบบลงคลอง จะปลูกประชิดด้านข้างทั้ง 2 ข้าง โดยจะเหลือพื้นที่ตรงกลางไว้ปลูกฝรั่งไร้เมล็ดแซมลงไป เมื่อต้นฝรั่งที่ปลูกทั้ง 2 ข้างโต และพอจะโน้มกิ่งลงคลองได้

สายพันธุ์ฝรั่งที่ปลูกก็จะเน้นพันธุ์แป้น โดยทั้ง 2 ข้าง จะปลูกสลับกัน ข้างหนึ่งเป็นพันธุ์แป้นสีทอง อีกข้างหนึ่งเป็นพันธุ์แป้นยอดแดง และตรงกลางจะปลูกฝรั่งไร้เมล็ด พันธุ์เด่นขุนวัง และสาลี่ทอง

ระบบค้างที่แผ่ลงคลองจะใช้ไม้ไผ่และลวดดึงยึดเพื่อที่จะรองรับกิ่งฝรั่ง ที่จะทอดตัวลง (ระบบค้างจะต้องสร้างให้แข็งแรงกันลมโยก)

สำหรับช่วงที่เหมาะสม ที่จะโน้มกิ่งฝรั่งลงคลอง คุณไพรัชบอกว่า ภายหลังจากเราเลี้ยงต้นฝรั่งได้อย่างสมบูรณ์ และเลือกไว้กิ่ง ๆ หลัก เพียง 2-3 กิ่ง ตั้งแต่ช่วงแรกพอต้นฝรั่งสูงได้ประมาณ 1 เมตร ซึ่งช่วงนั้นจะมีอายุประมาณ 1 ปี ก็ทำการโน้มกิ่งลงค้างที่เตรียมไว้เลย โดยใช้เชือกเป็นตัวดึง (อีกข้างหนึ่งก็ดึงเหมือนวิธีที่กล่าวนี้)

การเลือกกิ่งโน้ม จะต้องดูว่ากิ่งนั้นไม่แก่จนเกินไป เพราะถ้ากิ่งแก่แล้ว ทำการโน้ม จะทำให้กิ่งช้ำหรือไม่ก็ฉีกขาดได้

ส่วนกิ่งที่เหลืออยู่บนร่อง ก็ให้ตัดแต่ง หรือไม่ก็ใช้ประโยชน์โดยการตอนขาย แต่ทั้งนี้ต้องเหลือไว้ส่วนหนึ่งเป็นร่องเงาบังลำต้น

เมื่อโน้มกิ่งฝรั่งที่อยู่บนร่องลงคลองทั้ง 2 ข้างแล้ว พื้นที่บนกลางร่องที่เหลือ ใช้ประโยชน์โดยการปลูกฝรั่งพันธุ์ไร้เมล็ดแซมลงไป โดยดูช่วงจังหวะที่ปลูกให้เหมาะสม

"ฝรั่งแป้นสีทอง" ปลูกแป้นสีทอง คร่อมร่อง ลดต้นทุน เพิ่มผลผลิต 3 เท่า







ครึ่งปีหลัง ดูเหมือนว่า ‘เมืองไม้ผล’ จะหยิบยกเรื่องราวของฝรั่งพันธุ์ใหม่ ๆ มานำเสนออย่างต่อเนื่อง แต่ยังไม่มีโอกาสไปชมแปลงฝรั่งใหญ่ ๆ ที่เน้นปลูกในเชิงการค้าจริงจังกันซักที

...คงต้องหาโอกาสกันซักครั้งแล้ว ก่อนเข้าสู่หน้าหนาว ช่วงพักตัวของฝรั่ง

...แล้วจะไปชมฝรั่งกันที่ไหนดี ที่แปลกและแหวกแนว ประเด็นนี้เป็นโจทย์ใหญ่ที่ต้องคิด เพราะสวนฝรั่งมีมากก็จริง แต่ที่เน้นเรื่องของคุณภาพถือว่ายังน้อยมาก

...ทีมงานใช้เวลาเสาะหาแหล่งข่าวอยู่นานหลายวัน จนในที่สุดก็เจอกับสวนฝรั่งตามโจทย์ที่เรากำหนด

ส่วนฝรั่งที่ว่านี้ เป็นสวนที่เน้นผลิตฝรั่งคุณภาพ ป้อนตลาดกรุงเทพเป็นหลัก และมีแนวคิดการทำฝรั่งที่แปลกและแหวกแนวอยู่พอสมควร เราจึงเลือกสวนนี้มานำเสนอ เพราะมั่นใจว่าท่านที่สนใจจะได้ประโยชน์อย่างแน่นอน

20 กันยายน 47 ได้นัดหมายกับ คุณวิบูลย์ อิฐสถิตไพศาล กรรมการผู้จัดการบริษัท กรีนพลาน่า จำกัด เพื่อเดินทางไปพร้อมกัน

สวนฝรั่งที่กล่าวนี้เป็นสวนฝรั่งร่วมทุนกันระหว่างคุณเจริญ ทองวิไล และคุณไพรัช ทองวิไล โดยคุณเจริญเป็นผู้ที่คลุกคลีอยู่กับการทำสวนฝรั่งมากว่า 10 ปี และนอกจากทำสวนฝรั่งแล้ว ยังมีร้านค้าจำหน่วยฝรั่งที่ตลาด 4 มุมเมือง

ส่วนคุณไพรัชผู้เป็นน้องชาย เดิมทีเป็นช่างตกแต่งภายในของบริษัทแห่งหนึ่ง ทำอยู่นานหลายปี ก่อนที่จะได้รับคำชักชวนจากคุณเจริญผู้เป็นพี่ชาย ให้มาทำสวนฝรั่งด้วยเหตุผลที่บอกว่าทำสวนฝรั่งเป็นอาชีพที่ยั่งยืนกว่า

ราว ๆ ปี 2543 คุณไพรัชจึงตัดสินใจ ที่จะทำสวนฝรั่ง ตามคำชักชวนของพี่ชาย โดยได้เข้ามาศึกษาและเรียนรู้การทำฝรั่งจากพี่ชายอยู่ตลอด โดยในขณะนั้นดูแลแปลงฝรั่งอยู่ 5 ไร่เศษ ก่อนที่จะไปเซ้งสวนฝรั่งที่บางแพ อำเภอดำเนินสะดวก จังหวัดราชบุรี อีก 15 ไร่

แปลง 15 ไร่นี้เอง ที่คุณไพรัช ต้องเข้ามาจัดการด้วยตัวเอง แต่ก็มีพี่ชายคอยเป็นพี่เลี้ยงอยู่ห่าง ๆ สำหรับแปลงใหญ่ 15 ไร่ ดังกล่าวนี้ เป็นแปลงฝรั่งพันธุ์แป้นสีทอง ซึ่งช่วงที่เข้าไปดูแล ช่วยนั้นต้นฝรั่งอายุประมาณ 6 ปีเศษ เจ้าของเดิมทำแล้วเกิดเบื่อ ประกอบกับแบกรับต้นทุนไม่ไหวเลยเซ้งให้ตนทำต่อ และให้เช่าพื้นที่เป็นรายปีไป

ช่วงแรกที่เข้าดูแลสวน คุณไพรัชบอกว่า ได้เริ่มปรับปรุงสวนให้มีสภาพสมบูรณ์มากขึ้น ทั้งลอกร่อง ตัดแต่งทรง เพื่อให้มีกิ่งใหม่ และจัดโปรแกรมการให้ปุ๋ยที่เน้นทั้งเคมีและชีวภาพมากขึ้น

ส่วนเรื่องการจัดการกับผลผลิต ที่นี่จะเน้นผลิตฝรั่งไทยตลอดทั้งปี ซึ่งหมายความว่า ชุดที่ห่อได้ก็จะห่อไปเรื่อย ชุดที่ตัดแต่งกิ่งก็ทำกันไป โดยจะหมุนเวียนอยู่ตลอด แต่ทั้งนี้ใน 1 ปี จะเน้นทำฝรั่งออกมาเป็นชุดใหญ่เพียง 2 ชุด นอกนั้นก็จะเป็นชุดย่อย ๆ สามารถทยอยเก็บได้วันละ 5-6 เข่ง

ชุดใหญ่ที่ว่านี้ ชุดแรกจะเริ่มทำกันในช่วงหน้าหนาว ช่วงปลายตุลาคม-ธันวาคม และจะไปเก็บผลผลิตได้ราว ๆ เดือนมกราคม-มีนาคม

ชุดที่ 2 เริ่มเตรียมความพร้อมของต้นกันตั้งแต่หลังมีนาคม และเลี้ยงลูกไปจนถึงเข้าหน้าฝนช่วงพฤษภาคม-มิถุนายน ซึ่งจะไปเก็บผลผลิตได้ในช่วงเดือนกรกฎาคม-ตุลาคม ผลผลิตที่ตัดได้คุณไพรัชย้ำว่า แต่ละชุดจะให้ผลผลิตไม่ต่ำกว่า 60,000 กิโลกรัม ซึ่งยังไม่รวมกับชุดย่อย ๆ ที่จะทยอยเก็บอีกทุกวัน


เรียนรู้การทำฝรั่ง จนเชี่ยวชาญ ปี 45 ขยายไปปลูกเอง 35 ไร่
คุณไพรัชบอกว่า หลังจากเรียนรู้การทำฝรั่งมากกว่า 2 ปี แล้ว พอเข้าปี 45มั่นใจฝีมือตัวเอง ก็มีแนวคิดที่จะขยายพื้นที่ปลูกออกไป ซึ่งเลือกเอาทำเลที่ปลูก ไม่ห่างจากสวนเดิมมากนัก เพื่อจะได้มีเวลาดูแลอย่างใกล้ชิด เพราอย่างน้อยแล้ว ก็ยังเป็นหน้าใหม่อยู่ แม้ 2 ปีที่ผ่านมา จะทำได้สำเร็จก็ตามที

แปลงใหม่ที่จะไปปลูกนี้มีขนาดพื้นที่ 35 ไร่ ซึ่งต้องเริ่มลงทุนกันตั้งแต่การวางระบบสวนใหม่ทั้งหมด ซึ่งนั่นหมายถึงต้องเสียค่าใช้จ่ายในการยกร่องสวน

พื้นที่ 35 ไร่ จึงถูกขุดเป็นร่องสวน เพื่อที่จะปลูกฝรั่งโดยเฉพาะ หลังจากขุดเป็นร่องแล้ว พื้นที่ส่วนหนึ่งก็จะถูกตัดเป็นร่องน้ำ สรุปแล้วพื้นที่ที่ใช้ปลูกฝรั่งได้ประมาณ 30 ไร่เศษ

“ลงทุนตั้งแต่เริ่มต้นยกร่อง ไปจนถึงให้ผลผลิตชุดแรก 30 ไร่ ต้องใช้เงินไม่ต่ำกว่า 600,000 บาท”

จากแผนที่วางไว้ คุณไพรัช บอกว่าแปลงนี้จะปลูกฝรั่ง 2 ระบบ คือระบบปลูกบนร่องปกติ กับอีกระบบหนึ่งจะปลูกแบบระบบลงคลอง ซึ่งระบบนี้กำลังได้รับความนิยมในกลุ่มชาวสวนหัวก้าวหน้า แต่ทั้งนี้ก็ยังลองผิดลองถูกกันอยู่

ส่วนพันธุ์ฝรั่งที่เลือกปลูก แปลงนี้จะเน้นฝรั่งแป้นเป็นหลัก โดยมีทั้งฝรั่งแป้นสีทอง ฝรั่งแป้นยอดแดง และฝรั่งไร้เมล็ดพันธุ์เด่นขุนวัง พันธุ์สาลี่ ปลูกเสริมอยู่ด้วย

โดยปัจจุบันฝรั่งชุดนี้มีอายุประมาณ 2 ปี จำนวน 2,200 ต้น ซึ่งทยอยเก็บผลผลิตไปบางส่วนแล้ว และเนื่องจากเป็นฝรั่งที่ต้นอายุยังน้อย ทำให้ผลผลิตที่เก็บไปได้ส่วนที่มีคุณภาพน้อย ส่วนใหญ่จะเสียหายมากกว่า


ปลูกฝรั่งคร่อมร่อง แนวคิดการทำสวนยุคใหม่
ดังที่กล่าว สวนฝรั่งที่นี่ จะเน้นปลูก 2 ระบบ คือระบบปลูกบนร่องปกติ กับระบบคร่อมร่อง


‘ระบบคร่อมร่อง’ ดูเหมือนว่าจะเป็นแนวคิดการทำสวนฝรั่งของคนยุใหม่ ซึ่งก็เริ่มมีให้เห็นกันบ้างในเขต อ.บ้านแพว และ อ.ดำเนินสะดวกแห่งนี้ แต่ทั้งนี้ก็ยังไม่มีรูปแบบที่ตายตัว ต่างคนต่างความคิดก็จะไปกันคนละรูปแบบ

อย่างกรณีของสวนคุณไพรัช ซึ่งแบ่งพื้นที่ครึ่งหนึ่งประมาณ 15 ไร่เศษ ปลูกระบบลงคลอง ซึ่งวิธีการปลูกนั้นก็ไม่แตกต่างจากระบบปลูกบนร่องปกติ จะแตกต่างกันที่ระบบเท่านั้น คือระบบลงคลอง จะปลูกประชิดด้านข้างทั้ง 2 ข้าง โดยจะเหลือพื้นที่ตรงกลางไว้ปลูกฝรั่งไร้เมล็ดแซมลงไป เมื่อต้นฝรั่งที่ปลูกทั้ง 2 ข้างโต และพอจะโน้มกิ่งลงคลองได้

สายพันธุ์ฝรั่งที่ปลูกก็จะเน้นพันธุ์แป้น โดยทั้ง 2 ข้าง จะปลูกสลับกัน ข้างหนึ่งเป็นพันธุ์แป้นสีทอง อีกข้างหนึ่งเป็นพันธุ์แป้นยอดแดง และตรงกลางจะปลูกฝรั่งไร้เมล็ด พันธุ์เด่นขุนวัง และสาลี่ทอง

ระบบค้างที่แผ่ลงคลองจะใช้ไม้ไผ่และลวดดึงยึดเพื่อที่จะรองรับกิ่งฝรั่ง ที่จะทอดตัวลง (ระบบค้างจะต้องสร้างให้แข็งแรงกันลมโยก)

สำหรับช่วงที่เหมาะสม ที่จะโน้มกิ่งฝรั่งลงคลอง คุณไพรัชบอกว่า ภายหลังจากเราเลี้ยงต้นฝรั่งได้อย่างสมบูรณ์ และเลือกไว้กิ่ง ๆ หลัก เพียง 2-3 กิ่ง ตั้งแต่ช่วงแรกพอต้นฝรั่งสูงได้ประมาณ 1 เมตร ซึ่งช่วงนั้นจะมีอายุประมาณ 1 ปี ก็ทำการโน้มกิ่งลงค้างที่เตรียมไว้เลย โดยใช้เชือกเป็นตัวดึง (อีกข้างหนึ่งก็ดึงเหมือนวิธีที่กล่าวนี้)

การเลือกกิ่งโน้ม จะต้องดูว่ากิ่งนั้นไม่แก่จนเกินไป เพราะถ้ากิ่งแก่แล้ว ทำการโน้ม จะทำให้กิ่งช้ำหรือไม่ก็ฉีกขาดได้

ส่วนกิ่งที่เหลืออยู่บนร่อง ก็ให้ตัดแต่ง หรือไม่ก็ใช้ประโยชน์โดยการตอนขาย แต่ทั้งนี้ต้องเหลือไว้ส่วนหนึ่งเป็นร่องเงาบังลำต้น

เมื่อโน้มกิ่งฝรั่งที่อยู่บนร่องลงคลองทั้ง 2 ข้างแล้ว พื้นที่บนกลางร่องที่เหลือ ใช้ประโยชน์โดยการปลูกฝรั่งพันธุ์ไร้เมล็ดแซมลงไป โดยดูช่วงจังหวะที่ปลูกให้เหมาะสม





คุณไพรัชกล่าวต่อว่า สำหรับข้อดีของการปลูกฝรั่งระบบลงคลองนี้ ตนมองว่าเหมาะสมอย่างยิ่งกับการทำสวนในปัจจุบัน อย่างน้อย ๆ ประโยชน์ทีเห็นกันชัด ๆ คือ..
1. เป็นการใช้พื้นที่ให้เกิดประโยชน์สูงสุด แทนที่จะปลูกฝรั่งได้แถวเดียว ก็เพิ่มได้อีก 2 แถว จาก 30 ต้น ก็เพิ่มเป็น 60 ต้น
2. ได้ผลผลิตเพิ่มขึ้น (โน้มปุ๊บติดผลปั๊บ) ทั้งนี้เพราะโดยทั่วไปแล้ว การทำฝรั่งให้ติดดอกออกผลได้ดี จะต้องมีการโน้มกิ่งลง แต่การปลูกระบบลงคลองเป็นการโน้มกิ่งไปในตัวแล้วซึ่งกิ่งทอดยาวลงไป จะทำให้ได้ผลผลิตเพิ่มขึ้นอีก หรือจะพูดได้ว่าผลผลิตที่ได้คูณ 3 เข้าไป เพราะปลูกได้ 3 แถว
3. เป็นเประโยชน์ในแง่ของการจัดการ ดูแลได้ง่ายขึ้น ในเรื่องของน้ำผลผลิตเสียหายลดลง ทั้งนี้เนื่องจากกิ่งฝรั่งได้คลุมเต็มร่องน้ำ ทำให้น้ำในร่องเย็น ไม่ร้อนจัดเหมือนปลูกระบบแถวเดียว ซึ่งสามารถรดน้ำได้ตลอดทั้งวัน ซึ่งส่งผลดีต่อต้นและผลฝรั่งโดยตรง
4. ได้ผลผลิตที่มีคุณภาพ ผิวสวย เป็นเพราะปลูกแซมด้วยพันธุ์ไร้เมล็ดลงไป ซึ่งจุดเด่นของฝรั่งพันธุ์ไร้เมล็ดอยู่ที่สีผิว และเมื่อเกิดการผสมเกสรกันขึ้นจะทำให้ได้ผลผลิตที่มีสีผิวสวยสด ตรงความต้องการของตลาด ซึ่งตรงนี้ถือเป็นเทคนิคหนึ่งที่น่าสนใจ
5. สามารถทำรายได้เพิ่มเติมจากผลผลิตที่ได้อยู่แล้ว นั่นก็คือการทำกิ่งพันธุ์ขาย จากส่วนของฝรั่งแป้นสีทอง, แป้นยอดแดง, และฝรั่งไร้เมล็ด ที่ปลูกทั้งหมดนี้ก็เป็นประโยชน์ของการปลูกฝรั่งระบบทดลอง ตามความคิดของคุณไพรัส ชาวสวนฝรั่งดำเนินฯ ระบบร่องปลูกแถวเดียวที่นี่ก็เน้นการโน้มกิ่ง บังคับให้ออกดอกไปในตัว

หลายสวนหลังตัดลูกหมด ทำลูกใหม่ จะต้องตัดแต่งกิ่งเพื่อให้แตกยอด ออกดอก แต่ที่นี่จะเน้นการโน้มกิ่งเป็นหลัก

การโน้มกิ่งที่ว่านี้เป็นการจัดตกแต่งทรงพุ่ม บังคับไม่ให้ทรงพุ่มใหญ่มากนัก เพราะจะมีปัญหาในเรื่องการจัดการด้านอื่น ๆ และไม่ใช่ว่าจะโน้มทุกกิ่งเสมอไป เพราบางกิ่งที่มันแน่นเกินไปต้องตัดออกเช่นกัน

กิ่งที่จะโน้มนั้นคุณไพรัช ย้ำว่า จะต้องเป็นกิ่งที่ไม่บอบช้ำ เป็นกิ่งที่สมบูรณ์ โดยให้โน้มโดยการใช้เชือกดึงรั้งให้อยู่ในร่อง ซึ่งเป็นการจัดระบบทรงพุ่มให้ดูสวยงามไปในตัว และกิ่งฝรั่งจะแตกตาข้างออกมาเอง ซึ่งนั่นหมายถึงตาดอกด้วย

ด้านข้อดีในการโน้มกิ่งดังกล่าวนี้ คุณไพรัชยังให้ความเห็นว่าจะทำให้ฝรั่งเลี้ยงลูกได้ดี กว่าการที่เราตัดแต่งกิ่ง ให้แตกยอดและตาดอกออกมาใหม่ พูดง่าย ๆ ว่าจะทำให้ได้ลูกที่มีคุณภาพมากกว่า วิธีการดังกล่าวเพราะลดการแผดเผาของแสงแดดในรอบวัน

“การโน้มกิ่งและไว้ลูกตรงส่วนปลายจะได้ลูกที่สวยสุด กิ่งหนึ่งจะไว้ 2-3 ลูก จะได้ลูกกม-แป้น ส่วนลูกที่ออกตรงโคนกิ่ง จะไม่มีคุณภาพเลย ส่วนใหญ่จะออกมาแล้วเสียเกือบทั้งหมด คือลูกจะแข็งแน่น หรือไม่ก็ขรุขระ"

ภายหลังจากการทำการโน้มกิ่งแล้ว คราวนี้จะต้องดูว่าแน่นทึกมากไปหรือเปล่า หากแน่นมากไปก็ควรตัดกิ่งให้โล่งอีก และที่สำคัญกิ่งแขนงที่แตกออกมาจากด้านข้างจะต้องตัดแต่งออกให้หมด



ที่นี่ทำสวนฝรั่งระบบผสมผสานระหว่างเคมี/ชีวภาพ
ทำให้ได้ฝรั่งที่มีคุณภาพ ตรงกับความต้องการของตลาด “หากช่วยหน้าร้อนเราต้องการให้ฝรั่งเจริญเติบโตได้ดี ก็เน้นใช้ปุ๋ยเคมีเป็นหลัก แต่ถ้าเป็นช่วงหน้าฝน ก็ใช้สารชีวภาพ หรือปุ๋ยอินทรีย์ชนิดต่าง ๆ ก็ได้ผลดี แถมยังลดต้นทุนอีกต่างหาก”

สำหรับโปรแกรมการใช้ปุ๋ยของที่นี่ ก็จะเริ่มตั้งแต่จากหลังการโน้มกิ่ง ซึ่งจะใช้ปุ๋ยเคมีสูตรเร่งดอก 25-7-7 (15 ไร่/6 กระสอบ) โดยใช้ไม่มากนัก เพราะไม่ต้องการให้ตกค้าง และไปทำลายระบบหน้าดิน

หลังจากใส่ปุ๋ยเคมีกระตุ้นจนติดดอกแล้ว ช่วงนี้จะเริ่มนำปุ๋ยชีวภาพเข้ามาใช้ “เป็นปุ๋ยที่มีชื่อทางการค้าว่า ไบโอคิง” ซึ่งไบโอคิงตัวนี้ได้ทำหน้าที่ดูแลสวนนี้มาตลอด

ช่วงดอกนี้จะใช้ไบโอคิงสูตรเร่งดอกฤดูร้าน เพื่อให้ติดดอกได้ดียิ่งขึ้น การใช้ส่วนใหญ่จะใช้ในอัตรา 30-40 ซีซี./น้ำ 1 ปี๊บ ทำการฉีดพ่นให้ทั่วทั้งต้น ทุก ๆ 10 วัน และฉีดต่อไปเรื่อย ๆ จนกระทั่งเก็บเกี่ยว

“ใช้ไบโอคิงแล้ว ติดดอกออกผลดีมาก ส่วนใหญ่จะออกมาเป็น 4-5 ลูก และทำให้ขั้วเหนียว โอกาสหลุดร่วงน้อย”


เทคนิคการไว้ลูกและการดูแลผลผลิต
ภายหลังจากติดผลแล้ว การเลือกไว้ลูกมีความสำคัญมาก ซึ่งในเรื่องดังกล่าวนี้คุณไพรัชให้ความเห็นว่าหลักการไว้ลูกจะต้องใช้เทคนิคเฉพาะตัว ยิ่งทำฝรั่งคุณภาพด้วยแล้วจะต้องแม่นยำ เพราะเราไม่ได้เน้นปริมาณไว้เผื่อเลือก เราเอาคุณภาพจริง ๆ ลูกที่ไว้จึงต้องสมบูรณ์อย่างที่ออกมา 5 ลูกก็จริง แต่เราเอาแค่ 1 ลูกเท่านั้น

ส่วนหลักการไว้ลูกนั้นปริมาณมากน้อยแค่ไหนต่อต้น สิ่งที่ต้องคำนึงถึงคือ อายุของต้น โดยต้องดูอายุต้นเป็นเกณฑ์ “อย่างต้นที่สมบูรณ์จริง ๆ อายุ 1 ปี 8 เดือน ผมจะห่อแค่ 20 ลูก และถ้าอายุมากขึ้นต้นสมบูรณ์ดีก็ค่อย ๆ ไต่เพดานขึ้นไปเรื่อย ๆ”

หลังห่อผลแล้ว การด๔แลเรื่องของผลิผลิตก็สำคัญมาก ที่นี่จะเน้นใช้ปุ๋ยคอก ขี้วัว เพื่อไปเร่งให้ขยายผล และทำให้เนื้อฟู ผิวสวยเป็นเกล็ด และยังใช้ไบโอคิงฉีดพ่นทุก ๆ 15 วัน เป็นการบำรุงต้น และลูกฝรั่งให้สมบูรณ์อีกทางหนึ่ง

ส่วนเรื่องของการให้น้ำ ฝรั่ง คุณไพรัชบอกว่า ถ้าหากช่วงหน้าฝนปล่อยได้เลย ถือถ้าฝนตกติดต่กันหลายวัน ฝรั่งจะไม่มีปัญหาเรื่องโรคเลย แต่ถ้าฝนตก ๆ หยุด ๆ จะมีผลกระทบต่อฝรั่งทันที คือจะทำให้ลูกฝรั่งที่ห่อไว้มีปัญหากับเชื้อรา และกระดำกระด่างได้

เพราะฉะนั้นหากฝนตกไม่ติดต่อกัน ก็ควรให้น้ำอย่างสม่ำเสมอ เพื่อช่วยรักษาลูกไม่ให้เสียหาย แต่ถ้าเป็นช่วงหน้าแล้ง วันหนึ่ง ๆ จะต้องรดน้ำ 2 เที่ยวไปกลับ แม้จะไม่มีลูกที่ตัดได้ก็ตามที แต่ยังมีลูกที่ห่อไว้ ซึ่งเป็นชุดที่จะได้ราคาดี

“ฝรั่งชุดที่จะได้ราคาจะต้องเป็นฝรั่งที่ทำตั้งแต่หน้าร้อน แต่ถ้าทำกันในช่วงหน้าฝน สวนไหน ๆ ก็มีห่อ เพราะมันติดง่าย หน้าร้อนมันจะติดยาก เข้าถุงแล้วไม่รดน้ำ ไม่ดูแล ก็ร่วงแน่นอน”



พูดถึงการทำรสชาติฝรั่งให้ได้ดี ใช้ขี้วัวเป็นเทคนิคหนึ่ง
“ฝรั่งต้องทำให้หวาน คือถ้าเราทำหวาน ลูกค้าจะเรียกร้องทันที อย่างที่นี่เอาผลผลิตไปขาย ถ้าเป็นฝรั่งสวนใหม่ก็บอกกับลูกค้ากันตรง ๆ สีผิวมันสวยก็จริง แต่รสชาติไม่จัด”

รสชาติจึงมีความจำเป็นมากสำหรับการทำฝรั่งคุณภาพ ป้อนตลาดบน และการแต่งรสชาติฝรั่งยังเป็นเทคนิคเฉพาะสวน อย่างกรณีที่สวน คุณไพรัชแห่งนี้จะเริ่มแต่งรสชาติ ตั้งแต่ช่วงก่อนตัดลูก ประมาณครึ่งเดือน ใส่ปุ๋ยเคมีเร่งความหวานสูตรตัวท้ายสูง 13-13-21 และใช้ปุ๋ยคอก (ขี้วัว) เป็นตัวช่วยอีกทางหนึ่ง ซึ่งจะทำให้รสชาติของฝรั่งจัดขึ้น เนื้อฟู ผิวเป็นเกล็ดสวยงาม ตรงกับความต้องการของตลาด


ฝรั่งที่นี่ได้ราคาสูง 10-24 บาท/กก. เพราะเป็นฝรั่งคุณภาพ
“ผมทำฝรั่งมา 4 ปี ตลาดเดินดีมาก อย่างช่วงที่ราคาต่ำสุดอยู่ที่ 10-12 บาท ช่วงสูงสุดอยู่ที่ 23-24 บาท/กก. ซึ่งถือว่าเป็นราคาที่ชาวสวนอยู่ได้”

ดังที่กล่าวไว้ข้างต้นแล้วว่าที่นี่เน้นทำฝรั่งคุณภาพ อย่างต้นหนึ่งก็จะผลผลิตจริงไม่เกิน 150 ลูก (อายุต้น 9 ปี)

เรื่องของตลาดจึงไม่มีปัญหา ทั้งนี้เพราะทางสวนยังมีร้านจำหน่ายเป็นของตัวเอง ที่แผงค้าไม้ผลตลาดสี่มุมเมือง ซึ่งสามารถรองรับผลผลิตทั้งจากสวนตัวเอง และลูกไร่ ซึ่งทำกันอยู่ราว ๆ 300 ไร่ วันหนึ่ง ๆ ไม่ต่ำกว่า 1,000 กิโลกรัม

ฝรั่งแป้นสีทอง